ทฤษฎีสี (Color Theory) ที่นักออกแบบต้องรู้!!

22 ก.ค. 2022

ทฤษฎีสี (Theory of Color) หมายถึง ทฤษฎีของแม่สี ที่เป็นต้นกำเนิด ของการผสมสีเพื่อให้เกิดเป็นสี เพื่อนำไปใช้สร้างงานศิลปะหรืองานออกแบบแขนงต่าง ๆ


โดยสีตั้งต้น ซึ่งคือ "แม่สี" จะประกอบด้วย 3 สี คือ
1. สีแดง (Red, R)
2. สีเหลือง (Yellow, Y)
3. สีน้ำเงิน (Blue, B)


การผสมแม่สีแต่ละสีให้เข้ากัน ก็จะทำให้เกิดเป็น "วงล้อสี" (Color Wheels) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้รวมสีเข้าด้วยกัน วงจรสีวงแรกถูกสร้างโดยเซอร์ ไอแซค นิวตัน ในปี 1666 "วงล้อสี" ออกแบบมาโดยแนวคิดที่ว่าสีอันไหนที่คุณเลือกจากวงล้อสีจะดูดีเมื่ออยู่ด้วยกัน มีความหลากหลายของการออกแบบที่สร้างขึ้นแต่แบบที่ธรรมดาเห็นได้ทั่วไปคือวงล้อสีแบบ 12 สี พื้นฐานจากสี RYB(แดงเหลืองน้ำเงิน)

"วงล้อสี" เมื่อแบ่งครึ่ง เราจะพบว่า "สี" นั้นจะแบ่งเป็น "สีโทนร้อน" และ "สีโทนเย็น"

"สีโทนร้อน" หมายถึง ชุดสีที่ประกอบด้วย สีส้มเหลือง สีส้ม สีส้มแดง สีแดง และสีม่วงแดง สีวรรณะร้อนให้ความรู้สึกตื่นตา มีพลัง อบอุ่น สนุกสนาน และดึงดูดความสนใจได้ดี

"สีโทนเย็น" หมายถึง ชุดสีที่ประกอบด้วยสีเขียวเหลือง สีเขียว สีเขียวน้ำเงิน สีน้ำเงิน และสีม่วงน้ำเงิน โครงสีเย็นให้ความรู้สึกสุภาพ สงบ ลึกลับ เยือกเย็น

วงล้อสีจะทำให้เราเข้าใจง่ายขึ้นว่าการสี Primary (สีปฐมภูมิ) , Secondary (สีทุตติยภูมิ) , Tertiary Color (สีตติยภูมิ) นั้นคืออะไร?

Primary - แดง เหลือง น้ำเงินคือสีหลัก เป็นสีที่ไม่สามารถผสมด้วยสีใดๆได้หรือเรียกว่าแม่สี

Secondary - 3 สี เกิดจากการเอาสีขั้นต้นมาผสมกันได้เป็น ส้ม เขียว ม่วง

Tertiary Color คือ สีที่ได้จากการนำสีขั้นที่ 2 ผสมกับแม่สีทีละคู่ ก็จะได้สีเพิ่มขึ้นอีก 6 สี คือ ส้มเหลือง ส้มแดง เขียวเหลือง เขียวน้ำเงิน ม่วงแดง ม่วงน้ำเงิน

เทคนิคการผสมสีให้ อ่อน - เข้มขึ้น...การผสมสี วิธี Analog Colors คือการนำสีใกล้เคียงมาผสมกันเพื่อให้ได้สีที่เข้ม - อ่อนลง แต่ยังคงความสดใส

- เขียวอมเหลือง + เหลือง

= เขียวเลม่อน < ได้เขียวที่อ่อนลง

- ม่วง + น้ำเงิน

= ม่วงอมน้ำเงิน < ได้สีม่วงที่เข้มขึ้น

ทคนิคการผสมสีให้เข้มขึ้น...

การผสมสี วิธี Complementary คือการนำสีคู่ตรงข้ามในวงจรสีมาผสมกันจะได้สีที่เข้มขึ้น (เป็นสีแบบตุ่นๆที่ตอนนี้กำลังฮิตกัน)

วิธีผสม...

ให้นำสีหลัก 75% + สีคู่ตรงข้าม 25% = สีหลักที่ตุ่นๆ

!!!เทคนิคการใช้สีให้งานเราสวยงาม!!!

Complementary Colors จริงๆแล้วสีคู่ตรงห้ามส่วนใหญ่จะถูกสอนกันมาว่าห้ามใช้ แต่เรื่องจริงก็คือ ถ้าใช้ให้ถูกวิธีจะทำให้งานเราดูโดดเด่นทันที!!! มันมีวิธีใช้สีคู่ตรงข้ามให้อยู่ด้วยกันได้ง่ายและลงตัว อย่างเช่น ถ้าเราจะใช้ แดง - เขียว ให้ทำตามขั้นตอนนี้ 1.เลือกสีแรก (แดง) ชิ้นงานของเราใช้สีแดงในปริมาณ 80% ของงาน + สีที่2 (เขียว) ใช้ในปริมาณ 20% ของงานเท่านั้น 2.ผสมสีคู่ตรงข้าม เพื่อลดทอนความเข้มข้นของกันและกัน เช่นถ้าเราใช่แดงเป็นสีหลักเราอาจจะปล่อยสีแดงเป็นสีสดได้ แต่สีเขียวที่เรานำมาใช้ ต้องแต่สีแดงเข้าไปนิดนึง สีเขียวจะเข้มขึ้นมาทันที

Triad Colors คือ เทคนิคการใช้โครงสร้างสามเหลี่ยม คือการวาดสามเหลี่ยมขึ้นมาและใช้สีที่อยู่บนโครงสามเหลี่ยมนี้เท่านั้น เทคนิคการใช้สีนี้จะทำให้งานดูสนุกสนานและทำให้เรา แมทสีที่ลงตัวได้ง่ายขึ้น

Analog Colors คือการเอาสีใกล้เคียงในวงจรสี ให้เลือกสีที่อยู่ติดกัน 3 สี แต่อาจจะใช้ได้ถึง 5 สี แต่ใช้ในปริมาณที่น้อย เช่นถ้าเลือกสีม่วงก็ควรจะลือกใช้ ม่วงแดง / น้ำเงินม่วง

Monochrome เป็นการใช้สีเพียงสีเดียว แต่นำสีนั้นมาเพิ่ม tint  หรือเพิ่ม shade เพื่อให้เกิดสีต่างๆภายในสีสีนั้น

เทคนิคเพิ่มเติม

ทดสอบ ภาพดังกล่าวใช้เทคนิคไหน

ก.วงล้อสีสีคู่ตรงข้าม

ข.วงล้อสีสามเหลี่ยม

ค.monochromatic

เฉลย เทคนิคคู่ตรงข้าม

ทดสอบ ภาพดังกล่าวใช้เทคนิคไหน

ก.วงล้อสีสีคู่ตรงข้าม

ข.วงล้อสีสามเหลี่ยม

ค.analogoos สีใกล้เคียง

เฉลย analogous สีใกล้เคียง

ทดสอบ ภาพดังกล่าวใช้เทคนิคไหน

ก.วงล้อสีสีคู่ตรงข้าม

ข.วงล้อสีสามเหลี่ยม

ค.analogoos สีใกล้เคียง

เฉลย วงล้อสีสามเหลี่ยม

ทดสอบ ภาพดังกล่าวใช้เทคนิคไหน

ก. monochromatic

ข.วงล้อสีสามเหลี่ยม

ค.analogoos สีใกล้เคียง

เฉลย monochromatic